อาการ รถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง มีแต่ลม คอมทำงาน เกิดจากอะไร

25036 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง มีแต่ลม คอมทำงาน ลมร้อน

คงรู้สึกเบื่อไม่น้อยถ้าหากรถคันโปรดที่ใช้งานอยู่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบแอร์ ไม่ว่าจะเป็นอาการ รถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง ไปจนถึงลักษณะแอร์รถยนต์ไม่เย็น มีแต่ลม คอมทำงานตามปกติ ยิ่งบวกกับสภาพอากาศเมืองไทยคงไม่ต้องพูดถึงว่าเมื่อขึ้นรถมาแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้มันน่าหงุดหงิดขนาดไหน ดังนั้น PIT & GO จึงอยากพาทุกคนไปศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ วิธีสังเกต และการดูแล ซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

การสังเกตอาการรถแอร์ไม่เย็น

หลายคนยังสงสัยว่าจะรู้ได้ยังไงว่ารถของเราเริ่มมีอาการแอร์ไม่เย็น ซึ่งวิธีสังเกตนั้นไม่ยากเลย 

รถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง มีแต่ลม คอมทำงาน

หากแอร์ทำงานปกติ เวลาเราเปิดใช้งานก็ควรจะให้ความเย็นในระดับที่สม่ำเสมอ แต่หากคุณเปิดแอร์ในรถแล้วเริ่มรู้สึกว่าแอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง ระดับการทำความเย็นน้อยลงแม้พยายามเร่งความเย็นมากขึ้น มีเสียงแปลก ๆ จากช่องแอร์หรือหน้าเครื่องยนต์ รวมถึงการมีแต่ลมร้อนออกมาก็พอจะคาดเดาได้ว่าคุณควรต้องรีบเข้าศูนย์ตรวจเช็คระบบแอร์เป็นการด่วน เพราะหากทิ้งไว้นานจนอาการหนักขึ้น มีโอกาสที่งานซ่อมจะมากขึ้นเช่นกัน รวมถึงอาจส่งผลต่อความปลอดภัยระหว่างการขับขี่

สาเหตุของอาการ รถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง มีแต่ลม คอมทำงาน

ต้องขออธิบายก่อนว่าสาเหตุของรถแอร์ไม่เย็น แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง หรือในบางคันอาจพบว่า แอร์รถยนต์ไม่เย็น มีแต่ลม ในขณะที่คอมแอร์ทำงาน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เรามาลองมาพิจารณาไล่เรียงกันทีละจุดว่ารถของคุณกำลังเจอกับปัญหาดังกล่าวอยู่หรือไม่

 

1. คอมเพรสเซอร์แอร์มีปัญหา

ปกติแล้วคอมเพรสเซอร์แอร์จะทำหน้าที่เพื่อให้อากาศที่ส่งเข้ามาภายในรถเย็นตามอุณหภูมิที่เรากำหนดไว้ ถ้าหากรู้สึกว่ารถแอร์ไม่เย็นสิ่งแรกที่ควรตรวจสอบย่อมหนีไม่พ้นอุปกรณ์ชิ้นนี้นั่นเอง 

ซึ่งสาเหตุจากคอมเพรสเซอร์ก็มีด้วยกันหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น

  • คลัตช์คอมเพรสเซอร์จับกันไม่สนิทหรือคลัตช์ลื่น
  • ลูกสูบที่อยู่ด้านในเกิดอาการหลวม ไม่มีกำลังอัด
  • สายพานหย่อนเกินไป
  • หรือบ่อยครั้งคอมเพรสเซอร์เก่าจากการใช้งานมายาวนานและเสื่อมสภาพตามเวลา

 

2. แอร์รถยนต์มีอาการรั่วซึม

สาเหตุต่อมามักเกิดจากชุดแอร์เกิดการรั่วซึม จึงต้องไล่เช็คกันตั้งแต่ตู้แอร์ สายท่อแอร์ รวมถึงบริเวณข้อต่อตามจุดต่าง ๆ หากมีจุดไหนรั่วมักทำให้แรงดันน้ำยาแอร์ตก นำมาซึ่งอาการแอร์รถยนต์ไม่เย็น มีแต่ลม คอมทำงาน 

วิธีการตรวจสอบว่าปัญหามาจากสาเหตุนี้หรือไม่ก็ง่ายมาก โดยให้ลองใช้น้ำสะอาดหรือน้ำสบู่ลูบทาไล่ตามท่อไปทุกจุด สังเกตเห็นตรงไหนมีฟองอากาศแสดงว่ารั่วซึมแน่นอนต้องติดต่อศูนย์บริการ หรือติดต่อ PIT & GO เพื่อดำเนินการเปลี่ยนทันที

3. แผงคอยล์ทำงานผิดปกติ หรือแตกหัก

ปกติอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ระบายความร้อนน้ำยาแอร์ การทำงานผิดปกติจนแอร์ไม่เย็นสังเกตง่าย ๆ คือ ให้สตาร์ทเครื่องยนต์ เปิดแอร์ทิ้งไว้ จากนั้นเปิดฝากระโปรง พอคอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานก็ดูบริเวณพัดลมที่อยู่ตรงแผงคอยล์ว่ามีเสียงดังหรือหมุนช้ากว่าปกติหรือไม่ ถ้าคำตอบคือใช่ แสดงว่าต้องรีบเปลี่ยนทันที 

อีกกรณีคือแผงคอยล์มีฝุ่น เขม่า หรือคราบต่าง ๆ ติดอยู่หนาจนกลายเป็นความสกปรก ส่งผลให้อุปกรณ์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งก็ต้องจัดการทำความสะอาด ไม่อย่างนั้นอาจส่งผลให้แตกหัก ชำรุดเสียหาย และรุนแรงถึงขั้นความร้อนขึ้น แผงหน้าปัดโชว์บอกอาการกันเลยทีเดียว

4. มีการอุดตันบริเวณกรองแอร์ ชุดวาล์ว และดรายเออร์


อาการแอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้าง อาจมีสาเหตุมาจากการอุดตันบริเวณกรองแอร์ ส่งผลให้ระบบไม่สามารถระบายอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

การที่บริเวณชุดวาล์วกับดรายเออร์มีการอุดตันจากสิ่งสกปรกจะส่งผลถึงแรงดันน้ำยาแอร์ โดยน้ำยาแอร์จะไม่สามารถส่งออกจากคอมเพรสเซอร์เพื่อผ่านเข้าไปยังคอยล์เย็นได้อย่างเต็มที่ แอร์จึงขาดความเย็นนั่นเอง 

วิธีสังเกตคือ หากเป็นกรณีกรองแอร์สกปรก ให้ลองเปิดดูฝุ่นได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีชุดวาล์วกับดรายเออร์ให้ลองเร่งเครื่องยนต์หากแอร์เย็นในระหว่างนั้นก็แสดงว่าเป็นปัญหาที่อุปกรณ์ 2 อย่างนี้ และต้องเปลี่ยนใหม่

5. เกิดจากเรื่องของน้ำยาแอร์

การเติมน้ำยาแอร์ให้กับรถยนต์ถือเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อความเย็นภายในห้องโดยสาร หากรู้สึกว่ารถแอร์ไม่เย็น มีแค่ลมร้อนออกมา อาจเกิดจากการลืมเติมน้ำยาแอร์ หรือน้ำยาแอร์แห้ง

ให้สังเกตด้วยการกดปุ่ม A/C แล้วดูในช่องน้ำยาที่จะอยู่ระหว่างแผงระบายความร้อนหน้ารถ ถ้าเห็นฟองสีขาว ๆ นั่นคือฟองอากาศที่บอกว่าน้ำยาแอร์ใกล้หมดแล้ว ซึ่งการเติมน้ำยาไม่ใช่ว่าจะเติมแบบไหนก็ได้ ทว่าต้องเลือกน้ำยาที่เหมาะกับการใช้งานในรถนั้น ๆ  ซึ่งปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 

  • Refrigerant 12 (R-12) และ 
  • Refrigerant 134a (R134a) 

ลองอ่านคู่มือให้ละเอียด ไม่อย่างนั้นหากเติมผิดจะเกิดความเสียหายต่อระบบแอร์รถยนต์อื่น ๆ ตามมาอีกนับไม่ถ้วน ไม่เช่นนั้นสามารถติดต่อ PIT & GO ให้ช่างที่เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบเพื่อความมั่นใจได้เลย

 

6. สาเหตุอื่น ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

นอกจากสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้แอร์รถเย็นบ้างไม่เย็นบ้างตามที่บอกมาแล้ว ก็ยังอาจมาจากปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ฟิวส์ไหม้ 
  • ฟิวส์เสื่อมสภาพส่งผลไปยังระบบแอร์ส่วนอื่นภายในรถทำงานได้ไม่เต็มที่
  • ระบบไฟฟ้าเกิดการลัดวงจร ไม่ทำงาน
  • พัดลมแอร์เสื่อมสภาพ เสียหายจากการมีสิ่งสกปรกอุดตันจนหมุนไม่เต็มประสิทธิภาพ
  • การเกิดความร้อนในเครื่องยนต์มากเกินไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งพัดลมแอร์ทำงานไม่เต็มที่จนความร้อนระบายไม่ทัน
  • อุณหภูมิภายนอกสูงเกิน 45 องศาเซลเซียสจนสายไฟร้อนและลัดวงจร 

 

การดูแลและซ่อมแซมหากเจอปัญหารถแอร์ไม่เย็น

พื้นฐานสำคัญหากใครพบเจอปัญหาเกี่ยวกับแอร์ในรถไม่เย็นแนะนำให้สังเกตถึงความผิดปกติอย่างรวดเร็ว หากพบว่าความเย็นลดน้อยลง แอร์เย็นบ้างไม่เย็นบ้าง หรือแอร์รถยนต์ไม่เย็น มีแต่ลม คอมทำงาน ก็ต้องรีบตรวจสอบด้วยวิธีเบื้องต้นตามที่แนะนำเอาไว้จากสาเหตุต่าง ๆ แต่ถ้าไม่ชัวร์ก็ลองให้ช่างที่มีความชำนาญที่ PIT & GO ช่วยดูให้ก็ได้ และเมื่อรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงก็จัดการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้รถยนต์ของคุณกลับมาเย็นฉ่ำดังใจ ขับเส้นทางไหนก็ไม่ต้องกลัวร้อน

ทุกคนที่มีรถอย่าคิดว่าแค่รถแอร์ไม่เย็นแล้วปล่อยทิ้งไว้ มีเวลาค่อยเช็ค ค่อยสังเกต เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนและสร้างความเสียหายให้กับรถของคุณมากกว่าที่คิด ไปจนถึงอาการแอร์รถยนต์มีกลิ่น

ไม่ใช่แค่แอร์รถเท่านั้นแต่อาการใดก็ตามถ้าระหว่างขับขี่แล้วรู้สึกว่ารถผิดปกติก็ต้องรีบให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทันที อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด


และหากคุณต้องการให้ช่างที่มีประสบการณ์ด้านแอร์รถยนต์ช่วยตรวจสอบอาการผิดปกติ หรือซ่อมบำรุง สามารถติดต่อ PIT & GO ร้านซ่อมแอร์รถยนต์ศรีนครินทร์ได้เลย เราเป็น ศูนย์บริการรถยนต์ คุณภาพ มีมาตรฐานในการบริการมากว่า 10 ปี เรารับบริการซ่อมแอร์รถยนต์ทุกรุ่น ซ่อมแอร์ Volk Caravelle ซ่อมแอร์ Benz ซ่อมแอร์ BMW

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้