ทำความรู้จักกับระบบเบรค ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีกี่แบบ

391 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประเภทของระบบเบรค

ทำความรู้จักกับระบบเบรค ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีกี่แบบ

ระบบเบรครถยนต์ถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ผู้ขับขี่ต้องใส่ใจให้มากเพื่อความปลอดภัยในทุกเส้นทาง การทำความรู้จักกับระบบเบรคให้ชัดเจนทั้งในเรื่องส่วนประกอบ ไปจนถึงประเภท และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องนอกจากช่วยเพิ่มความมั่นใจตลอดเวลาขณะอยู่หลังพวงมาลัยแล้ว และหากเวลาเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบเบรค เช่น เบรคเสียงดัง จะได้พอเข้าใจการทำงานของเบรค รวมถึงยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อการตัดสินใจซื้อสินค้า หรือใช้สำหรับการซื้อรถยนต์คันต่อไปของคุณได้อีกด้วย

ส่วนประกอบหลักของระบบเบรค 

  • แป้นเบรค (Brake Pedal): จุดเริ่มต้นของการทำงานของระบบเบรค มีหน้าที่คล้ายคานกดเพื่อรับแรงกดจากเท้าของผู้ขับขี่
  • แม่ปั๊มเบรค (Master Cylinder): ส่วนประกอบนี้จะใช้สร้างแรงดันไฮดรอลิกส่งต่อไปยังน้ำมันเบรคจนเกิดแรงดันสูง ด้านในจะอัดแน่นด้วยชุดลูกยางเบรคหลายชิ้น
  • ท่อเบรค (Brake Lines): หรือท่อน้ำมันเบรค บางคนเรียกสายอ่อนเบรค เป็นท่อส่งแรงดันไปยังเบรคจึงอยู่ในส่วนของระบบส่งแรงดัน ด้านในกลวง ทำจากเหล็กหรือทองแดง
  • คาลิเปอร์ (Caliper): ส่วนที่บีบผ้าเบรคกับจานเบรคเพื่อสร้างแรงเสียดทานและทำให้ล้อรถหยุดหมุน ลักษณะคล้ายแคลมป์บนจานเบรคล้อ ซึ่งด้านในจะมีผ้าเบรคอยู่
  • จานเบรค (Brake Disc/Rotors): จุดที่ผ้าเบรคสัมผัสเพื่อหยุดล้อ คอยรับแรงเสียดทานเพื่อให้ลดชะลอความเร็ว
  • ผ้าเบรค (Brake Pads): ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดแรงเสียดทานเพื่อหยุดจานเบรคและชะลอความเร็วของรถ ใช้หลักการสร้างแรงเสียดทานส่งต่อไปยังดิสก์เบรคหรือดรัมเบรค
  • ดรัมเบรค (Brake Drum): ในบางระบบเบรค ส่วนนี้จะติดแน่นกับล้อ ทำหน้าที่เช่นเดียวกับจานเบรคเพื่อทำให้ล้อหยุด

ประเภทของระบบเบรค

1. เบรคดิสก์ (Disc Brakes)

เริ่มด้วยประเภทแรกของระบบเบรคจะเป็นระบบไฮดรอลิกด้านในประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งจานดิสก์เบรค คาลิเปอร์ ลูกสูบ ลักษณะการทำงานเมื่อมีการเหยียบเบรคตัวผ้าเบรคจะถูกดันไปยังน้ำมันเบรคให้ไหลไปถึงลูกสูบในคาลิเปอร์เลื่อนไปจับและเกิดการเสียดสีกับจานเบรค รถจึงค่อย ๆ ชะลอตัวหรือหยุดลงในที่สุด 

2. เบรคดรัม (Drum Brakes)

เป็นระบบเบรคแบบไฮดรอลิกเช่นกัน โดยตัวดรัมเบรคจะมีการติดตั้งบริเวณล้ออาศัยหลักการทำงานตามแรงผลักจากหม้อลมกับแม่ปั๊มเบรคส่งแรงดันน้ำมันเบรคให้ไปถึงกระบอกเบรค จากนั้นตัวฝักเบรคจะถูกผลักติดไปกับกระทะเบรคส่งผลให้แต่ละล้อจะเกิดแรงเฉื่อย ความเร็วรถจึงค่อย ๆ ลดลงหรือหยุดรถในที่สุด

3. เบรคไฟฟ้า (Electronic Brakes)

จะเป็นระบบเบรคที่ใช้การควบคุมผ่านการทำงานแบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ขับขี่แตะเบรคเพื่อหยุดรถอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบเบรคจะทำงานเชื่อมต่อถึงกัน มีพลังการเบรคสูงมาก แต่ส่วนใหญ่มักถูกใช้งานกับรถที่มีราคาแพง ๆ

4. เบรคมือ (Hand Brakes/ Parking Brakes)

ประเภทสุดท้ายเป็นการทำงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน ปกติแล้วสำหรับรถยนต์ทั่วไปมักใช้เบรคมือเพื่อล็อกล้อไม่ให้เคลื่อนตัวหลังการจอดโดยเฉพาะบริเวณที่มีพื้นที่เอียง เช่น เชิงสะพาน เชิงเขา บางคนอาจเรียกเบรคฉุกเฉินก็ได้เช่นกัน

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบเบรค

1. ABS (Anti-lock Braking System)

เป็นระบบเบรคมาตรฐานของรถรุ่นใหม่ ๆ จะถูกใช้งานในลักษณะของการเบรคแบบฉุกเฉิน ตัวเซนเซอร์จะส่งสัญญาณแจ้งเตือนไปยังปั๊มเบรคเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ขับขี่เหยียบเบรคแบบจมมิดหรือล้อล็อก ลดการลื่นไถลจากแรงเฉื่อย

2. EBD (Electronic Brakeforce Distribution)

ระบบควบคุมการกระจายแรงเบรค ทำหน้าที่ปรับสมดุลแรงเบรคของทั้ง 4 ล้อ ช่วยกระจายน้ำหนักแรงกดเบรคให้สมดุล ลดปัญหาท้ายปัดหรือหน้าทิ่มขณะเบรคกะทันหัน เหมาะกับรถที่บรรทุกน้ำหนักเยอะ ๆ

3. Brake Assist (BA)

ระบบเสริมแรงเบรคจะทำงานแบบฉุกเฉินเมื่อมีการเบรคกะทันหัน อาศัยเทคโนโลยีเซนเซอร์ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคให้สูงขึ้นพร้อมเพิ่มการส่งต่อแรงเบรคไปยังล้อ ลดระยะการเบรคให้สั้นลง

เมื่อรู้จักกับระบบเบรคกันแบบละเอียดแล้วก็หวังว่าผู้ขับขี่ทุกคนจะสามารถขับขี่รถยนต์ของตนเองได้อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุในทุกเส้นทาง สร้างความสุขได้ตลอดทริปการเดินทาง หากใครกำลังกับปัญหารถยนต์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แอร์ไม่เย็น ปัญหาเครื่องยนต์ ปัญหาระบบเบรค สามารถเข้ามารับบริการ หรือ ตรวจเช็คได้ที่ Pit&Go ศูนย์บริการรถยนต์ ให้บริการโดยช่างผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในการซ่อมรถยนต์มาอย่างยาวนาน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้